โคราชแชมป์ยอดเสียชีวิต21ศพ สรุปอุบัติเหตุสูงขึ้นตายเท่า 56

โคราชแชมป์ยอดเสียชีวิต21ศพ สรุปอุบัติเหตุสูงขึ้นตายเท่า 56

3 ม.ค.57 นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะประธานกรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน

แถลงข่าวสถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 57 ว่า ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 2 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์ “ปีใหม่สัญจรปลอดภัย ร่วมใจลดอุบัติเหตุ” เกิดอุบัติเหตุ 283 ครั้ง (ปีใหม่ 2556 เกิด 293 ครั้ง) ลดลง 10 ครั้ง ร้อยละ 3.41 ผู้เสียชีวิต 32 ราย (ปีใหม่ 2556 ผู้เสียชีวิต 34 ราย) ลดลง 2 ราย ร้อยละ 5.88  ผู้บาดเจ็บ 304 คน (ปีใหม่ 2556 ผู้บาดเจ็บ 293 คน) เพิ่มขึ้น 11 คน  ร้อยละ 3.75

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 32.86 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 28.62

ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.77 รถปิคอัพ ร้อยละ 8.22 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 21.43 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 65.72 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 39.58 ถนน อบต./หมู่บ้านร้อยละ 31.80 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. ร้อยละ 30.04 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 47.01 กลุ่มเด็กและเยาวชน ร้อยละ 26.19 สำหรับจังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 16 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 4 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 16 ราย

สรุปอุบัติเหตุทางถนนสะสม 7 วัน (วันที่ 27 ธ.ค. 56 – 2 ม.ค.57) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,174 ครั้ง

(ปีใหม่ 2556 เกิด 3,164 ครั้ง) เพิ่มขึ้น 10 ครั้ง ร้อยละ 0.32  ผู้เสียชีวิตรวม 366 ราย เท่ากับปีใหม่ 2556 ผู้บาดเจ็บรวม  3,345 คน (ปีใหม่ 2556 ผู้บาดเจ็บ 3,329 คน) เพิ่มขึ้น 16 คน ร้อยละ 0.48  สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 41.71 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 25.83 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 81.03 รถปิคอัพ ร้อยละ 8.50 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 22.39

ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 61.50 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 37.08 ถนน อบต./หมู่บ้านร้อยละ 35.03 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด

ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. ร้อยละ 28.48  ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม วัยแรงงาน ร้อยละ 56.59 กลุ่มเด็กและเยาวชน ร้อยละ 23.52 จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตในช่วง 7 วัน รวม 5 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน บึงกาฬ ตราด ปัตตานี และพังงา  จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 127 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา 21 ราย  จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 137 คน
 


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์