สมิทธ เตือนซ้ำ มหาวิบัติภัยจากภาวะโลกร้อน

สมิทธ ธรรมสโรช เตือนซ้ำ มหาวิบัติภัย ยัน ภาวะโลกร้อน ของจริง


สมิทธ ธรรมสโรช เตือนซ้ำ
มหาวิบัติภัย
ยัน "ภาวะโลกร้อน" ของจริง
จี้รัฐบาลระดมสมองรับมือผลสำรวจของยูเอ็น
หากดำเนินการช้าไปจะย่อยยับยิ่งกว่าสึนามิถล่ม
แนะสร้างเขื่อนกันน้ำทะเลท่วมคลุมปากอ่าวไทย


เมื่อวันที่ 1 เมษายน นายสมิทธ ธรรมสโรจน์ อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา


เปิดเผยว่ารายงานวิจัยสำรวจภาวะโลกร้อนฉบับที่ 2 ขององค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็นมีความเป็นไปได้สูงมาก ที่จะเกิดภัยพิบัติต่างๆ คร่าชีวิตมวลมนุษย์ชาติ

สำหรับผลรายงานวิจัยภาวะโลกร้อนฉบับที่ 2


ขององค์การสหประชาชาติระบุว่า เกิดจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และจะส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค พายุฤดูร้อน น้ำท่วม ภาวะแห้งแล้ง โลกภัยไข้เจ็บ พืชและสัตว์สูญพันธ์ น้ำทะเลจะขึ้นสูงขึ้นอีก1เมตร และเหตุการดังกล่าวคาดว่าจะเกิดขึ้นในทศวรรษนี้โดยครึ่งหนึ่งจะเกิดขึ้นแถบเอเซีย

นายสมิทธ กล่าว


"มีความเป็นไปได้สูงที่จะเกิดผลกระทบตามรายงานที่กล่าวอ้าง เพราะรายงานดังกล่าว ได้สอดคล้องกับผลการวิจัยที่ผมได้สำรวจไว้ ทำให้ยิ่งสะท้อนเป็นภาพที่ชัดเจนว่า ระยะเวลาที่ความเสียหายดังกล่าวจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ประเทศไทย จะอยู่ในช่วงระหว่าง 15 ปี และช้าสุดไม่เกิน 20 ปี"

นายสมิทธ ธรรมสโรจน์ อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา



และว่าในพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯ ที่อยู่ติดกับทะเล


อาทิ อ.พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร จะได้รับผลกระทบเป็นพื้นที่แรก เนื่องจากพื้นดินบริเวณดังกล่าว อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล แถมมีการทรุดตัวเป็นรายวัน หากน้ำทะเลหนุนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว น้ำทะเลก็จะทะลักเข้าท่วมพื้นที่ได้ง่าย แหล่งอุตสากรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรงงาน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็จะได้รับผลกระทบ รวมถึงระบบเศรษฐกิจ ระบบการท่องเที่ยว การเกษตรกรรม การขนส่ง ภายในประเทศด้วย

นายสมิทธ กล่าว


หากปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบไปทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ในพื้นที่ จ.นนทบุรี อ.บางพลี อ.บางบ่อ ก็จะเพาะปลูกไม่ได้ ส่วนประชาชนที่อยู่ในเขตกทม. ก็จะได้รับผลกระทบ อาทิ ไม่สามารถใช้น้ำปะปาได้ เพราะน้ำทะเลหนุนสูงและทะลักเข้าสู่คลองปะปา และที่สำคัญกว่านั้น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก็จะถูกน้ำท่วม ระบบเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว การคมนาคม ขนส่งก็จะได้รับผลกระทบ จนประเมินค่าความเสียหายไม่ได้"

อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ยังได้เสนอแนะมาตราการป้องกันเบื้องต้นว่า


นอกจากประชาชนจะร่วมกันตระหนักถึงผลมหาวิบัติที่ใกล้จะมาถึงแล้ว รัฐบาลต้องดำเนินนโยบาย หรือจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นระหว่าง คณะรัฐบาล นักวิชาการ นักการเมือง กลุ่มอ็นจีโอ ประชาชนในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางป้องกันร่วมกัน รวมถึง
วิธีป้องกันที่เป็นรูปธรรม คือ การสร้างเขื่อน หรือประตูระบายน้ำ อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่ากระบวนการสร้างเขื่อน สร้างประตูระบายน้ำ จะต้องอาศัยเงินลงทุน มีกระบวนการทำงานที่ซับซ้อน ต้องศึกษาผลกระทบ และได้รับการเห็นชอบจากประชาชนในพื้นที่ แต่หากรัฐบาลไม่เริ่มหาทางป้องกันไว้ก่อน อาจจะสายเกินที่จะกลับมาแก้ไข

อดีตอธิบดีกรมอุตุฯ กล่าว


ถึงแม้การสร้างเขื่อน หรือประตูระบายน้ำ จะใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการระยะยาว แต่สิ่งที่ทำได้ในวันนี้ก็คือจัดงานสัมมนา เชิญ คณะรัฐบาล นักวิชาการ นักการเมือง กลุ่มเอ็นจีโอ ประชาชน ระดมสมองเสนอแนะแนวป้องกัน แล้วนำข้อคิดเห็นฝากให้รัฐบาลหากลับไปกำหนดนโยบายเพื่อทางป้องกัน หากไม่เริ่มทำกันอย่างนี้ อาจจะเกิดการสูญเสียยิ่งกว่ามหาวิบัติภัยสึนามิที่ผ่านมาได้ "

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับนายสมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาผู้นี้


ได้เคยออกหนังสือเตือนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดย่านชายทะเลปักษ์ใต้มาแล้วเหมือนร่วมสิบปีที่ผ่านมา ว่าให้ระวังจะเกิดคลื่นยักษ์สึนามิ แต่ในขณะนั้นไม่มีใครเชื่อ ซ้ำยังถูกผู้ว่าราชการหลายจังหวัดตำหนิว่าคำเตือนดังกล่าวเป็นการทำลายบรรยากาศการท่องเที่ยว แต่สุดท้ายได้เกิดเหตุการคลื่นยักษ์สึกนามิขึ้นมาจริง ในจังหวัด กระบี่ พังงา ภูเก็ต สตูล เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมามีคนตายนับหมื่นคน ซึ่งยุคนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี และได้แต่งตั้งให้นายสมิทธ เข้าไปเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีดูแลจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบต่อการผลิตไวน์อย่างมหาศาล


โดย นายเกรกอรี่ โจนส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ เซาเธิร์น โอเรกอน สหรัฐอเมริกา ระบุว่า อากาศร้อนมักส่งผลดีต่อการเติบโตของผลผลิตในไร่องุ่น แต่สำหรับภาวะโลกร้อน จะส่งผลกระทบในทางตรงกันข้ามต่อไร่องุ่นทางภาคใต้ของฝรั่งเศสและแคลิฟอร์เนีย

นักวิชาการผู้นี้ ยังระบุว่า


การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน พบว่า อากาศอบอุ่นทำให้องุ่นที่ใช้ในการทำไวน์มีคุณภาพดี แต่ในอนาคต สภาวะโลกร้อนจะก่อให้เกิดภัยพิบัติไปทั่วภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งเรื่องการชลประทาน โรคระบาด และการพังทลายของหน้าดินที่มาจากภาวะน้ำท่วม นอกจากนี้ ผลกระทบจากสภาพอากาศยังส่งผลต่อรสชาติของไวน์ เช่น อาจมีรสหวานมากขึ้น และระดับแอลกอฮอล์อาจสูงขึ้นด้วย

ขณะที่


นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยบอร์โดซ์ ในฝรั่งเศส เรียกร้องให้อุตสาหกรรมไวน์หาทางรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อปรับตัวรับสภาพความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น

วันเดียวกัน นายศุภชัย ศรีพรหม ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา จ.สตูล


เปิดเผยขณะนำเจ้าหน้าที่ออกเก็บซากปลาที่ตายไม่ทราบสาเหตุบริเวณชายฝั่งด้านทิศตะวันตกของเกาะตะรุเตา หมู่ 7 ตำบลเกาะสาหร่าย อำเภอเมืองว่า เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา มีปลาหลายชนิดลอยขึ้นผิวน้ำจำนวนมากก่อนตาย ส่วนสาเหตุคาดว่าเกิดภาวะเอลนิโญ เนื่องจากอากาศร้อนจัด ทำให้ออกซิเจนในน้ำน้อยลง ซึ่งน้ำทะเลที่ใสสะอาดขณะนี้มีสภาพเป็นสีแดงขุ่น อย่างไรก็ตาม จะเร่งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจน

ด้าน กรมอุตุนิยมวิทยา


คาดหมายลักษณะอากาศประเทศไทยราย 3 เดือน(เมษายน-มิถุนายน2550)ว่า เดือนเมษายน ประเทศไทยตอนบนอยูในช่วงฤดูร้อน หยอมความกดอากาศต่ำ เนื่องจากความรอนปกคลุมประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง ทําใหมีอากาศรอนอบอ้าว โดยจะมีอากาศร้อนและรอนจัดในหลายพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 40-43องศาเซลเซียส ในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง และในบางช่วงจะมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ช่วยคลายความร้อนลงได?อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ในเกณฑสูงกวาค่าปกติ ส่วนเดือนพฤษภาคม และมิถุนายน ก็เข้าสู่ภาวะปกติ แต่อาจจะเจอกับพายุ จากทะเลจีนใต้


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์