วิธีสังเกต: ตู้เอทีเอ็มปลอดภัยจากเครื่องสกิมเมอร์หรือไม่

วิธีสังเกต: ตู้เอทีเอ็มปลอดภัยจากเครื่องสกิมเมอร์หรือไม่

เมื่อวันที่ 8 พ.ย. ภายหลังจากมีคนร้ายชาวต่างชาติติดตั้งเครื่องสกิมเมอร์ในตู้เอทีเอ็ม ก่อนลักข้อมูลบัตรไปกดเงินจนเสียหายไปเป็นเงินหลายแสน แต่ยังมีหลายคนที่ไม่รู้จักเจ้าเครื่องดังกล่าวว่ามีวิธีการทำงานอย่างไร

จึงเสนอข้อมูลไว้ให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งวิธีสังเกตุสิ่งผิดปกติก่อนจะเสียบบัตรที่ตู้เอทีเอ็มวิธี สังเกตในการใช้บริการตู้เอทีเอ็ม คือก่อนใช้บริการทุกครั้ง ควรตรวจสิ่งดูผิดปกติ เช่น มีกล่องประชาสัมพันธ์ กล่องใส่ใบปลิว ติดที่หน้าตู้ ซึ่งเป็นการโฆษณาอื่นที่ไม่ใช่ของธนาคารหรือไม่ เพราะอาจจะมีกล้องตัวเล็กถูกซุกซ่อนไว้แอบถ่ายอยู่ จากนั้นก็ลองขยับหรือโยกอุปกรณ์ของตู้ได้ ถ้าไม่เป็นมาตรฐานของธนาคารมันจะหลุดออกมา เนื่องจากปกติมิจฉาชีพจะไม่ติดตั้งให้แน่นแบบถาวร เนื่องจากต้องถอดเครื่องสกิมเมอร์ไปที่ตู้อื่นด้วย

แต่ผู้มาใช้บริการ บางรายอาจจะมาทำธุรกรรมที่ตู้ด้วยความเร่งรีบจนลืมระมัดระวัง ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดที่พอจะช่วยสังเกตุถึงความผิดปกติได้คือ ตู้เอทีเอ็มของทุกธนาคาร ก่อนที่จะเสียบบัตรจะต้องมีไฟกะพริบล้อมรอบช่องเสียบบัตรทุกครั้ง

ดังนั้นถ้าไม่มีไฟกะพริบปรากฏให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีเครื่องดูดข้อมูล จึงควรเปลี่ยนไปใช้ตู้อื่น เพื่อความปลอดภัย สำหรับเครื่องสกิมเมอร์ (skimmer เครื่องดูดหรือกวาดข้อมูล) นั้น เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คนร้ายสร้างขึ้น โดยนำเครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก วงจรถอดรหัส และวงจรหน่วยความจำมาประกอบเข้าด้วยกัน สกิมเมอร์มีหลายขนาดตั้งแต่เท่ากับกล่องใส่รองเท้าไปจนถึงขนาดเท่าซองบุหรี่ ที่คนร้ายซ่อนไว้ในอุ้งมือได้ ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่จึงสามารถพกพาได้สะดวก

เมื่อนำบัตรเครดิต (หรือบัตรเดบิตเช่นบัตร ATM) มารูด สกิมเมอร์จะอ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็กและนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ

สกิมเมอร์ที่มีหน่วยความจำน้อยจะเก็บข้อมูลบัตรเครดิตได้ 50 ใบ ส่วนสกิมเมอร์ที่มีหน่วยความจำมากอาจเก็บข้อมูลได้หลายหมื่นใบ และเมื่อลักลอบดูดข้อมูลจากบัตรเครดิตไปแล้ว คนร้ายก็จะนำไปสร้างบัตรปลอมซึ่งมีอยู่ 2 แบบ แบบแรกเรียกว่า “บัตรสี” เป็นบัตรเครดิตปลอมที่มีสี มีลวดลาย และมีตัวพิมพ์นูนเหมือนของจริงทุกอย่าง

รวมทั้งมีข้อมูลในแถบแม่เหล็กอย่างถูกต้องอีกด้วย บัตรแบบนี้สามารถนำไปใช้ได้ทุกแห่งเช่นเดียวกับบัตรจริง บัตรปลอมอีกแบบเรียกว่า “บัตรขาว” เป็นบัตรพลาสติกสีขาวมีเพียงแถบแม่เหล็กเก็บข้อมูล ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้ในหลายๆ แหล่ง เช่นนำไปกดเงินสดจากตู้ ATM หรือนำไปใช้กับร้านค้าที่ทุจริต คนร้ายบางคนไม่ทำบัตรปลอม แต่นำข้อมูลบัตรของเราไปขายในอินเตอร์เน็ตก็มี


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์