ปัญหา“ภาษา”ต่างชาติเข้าไม่ถึงข้อมูลน้ำท่วม

ปัญหา“ภาษา”ต่างชาติเข้าไม่ถึงข้อมูลน้ำท่วม

มะกันวิเคราะห์โซเชียลมีเดียในวิกฤตน้ำท่วม ข้อมูลภาษาไทยเป็นอุปสรรคของนานาชาติ

เมื่อวันที่ 28 ต.ค. นายเจค เวงรอฟ  จากบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก กล่าวว่า นอกจากเว็บไซต์ http://www.floodthailand.net และทวิตเตอร์ @FloodThailand ที่รัฐบาลไทยได้จัดทำขึ้นเพื่อสื่อสารข้อมูลให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์น้ำท่วมแบบนาทีต่อนาทีแล้ว ยังมีองค์กรเอกชนจำนวนมากได้จัดทำเว็บไซต์ เฟซบุ๊คเพจ และทวิตเตอร์เพื่อสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลจำเป็นต่างๆอย่างทันท่วงที

“เป็นที่น่าชื่นชมว่ารัฐบาลของประเทศไทย ได้มีการดำเนินการเพื่อเผยแพร่ข่าวสารผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะนำไปสู่ความมั่นใจของประชาชน ในช่วงวิกฤติเช่นนี้ความขัดแย้งทางข้อมูลและความสับสนในการสื่อสารต่างๆ อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงตามมาได้ ซึ่งรัฐบาลไทยควรคำนึงถึงสิ่งนี้และมีมาตรการรองรับเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดความสับสนต่างๆตามมาภายหลัง”  นายเวงรอฟ กล่าว

อย่างไรก็ตาม โซเชียลมีเดียต่างๆที่ศูนย์ปฏิบัติการผู้ประสบภัยช่วยเหลือน้ำท่วม หรือ ศปภ.ใช้ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาษาไทย
 
ทำให้ต่างชาติที่สนใจในรายงานความคืบหน้าจากศปภ.ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้  ดังนั้น รัฐบาลควรคำนึงถึงปัจจัยนี้ด้วย เนื่องจากการแปลข่าวเป็นภาษาอังกฤษจะทำให้ประชาชนจากทั่วทุกมุมโลกได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงและนำมาซึ่งความช่วยเหลือที่ถูกต้อง  อุปสรรคทางด้านภาษาอาจเป็นปราการสำคัญที่ทำให้ประชาชนที่ไม่ได้พูดภาษาไทยไม่ได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ได้อย่างทันท่วงที

“จริงๆแล้วขณะนี้  'Thai flood' ไม่ได้อยู่ใน Top stories บนกูเกิลนิวส์  และ ทวีตเตอร์ #thaiflood และ #floodthailand ก็ยังไม่ใช่หัวข้อเด่นบนทวีตเตอร์ ณ ปัจจุบัน”  นายเวงรอฟให้ความเห็น.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์