แทบละลาย! นาซาเผยอีก 85 ปี โลกร้อนระอุ ฤดูหนาวไทยอาจมีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 35 องศา!

แทบละลาย! นาซาเผยอีก 85 ปี โลกร้อนระอุ ฤดูหนาวไทยอาจมีอุณหภูมิต่ำสุดที่ 35 องศา!

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือนาซา เปิดตัวฐานข้อมูลคาดการณ์อุณหภูมิโลกในอนาคต เผยในปี พ.ศ. 2643 อุณหภูมิหลายประเทศอาจร้อนเกิน 45 องศาเซลเซียส

ข้อมูลกว่า 11 เทอร์ราไบต์ที่ถูกเปิดเผยโดยนักวิทยาศาสตร์ของนาซานั้น แสดงให้เห็นข้อมูลระดับอุณหภูมิและรูปแบบการตกของฝนทั่วโลกที่อาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องจนถึงปี พ.ศ. 2643

ปัจจุบันสัดส่วนความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอยู่ที่ 400 ส่วนในล้านส่วน ภายใต้การใช้ฐานข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อ้างอิงจากระดับการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์ ในอีก 85 ปีข้างหน้า ระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศอาจพุ่งสูงถึง 945 ส่วนในล้านส่วน ทำให้ก๊าซดังกล่าวประกอบอยู่ในชั้นบรรยากาศเกือบ 0.1 เปอร์เซนต์ หากเป็นเช่นนั้น ทวีปแอฟริกา, อเมริกาใต้, และอินเดียจะต้องทนกับอุณหภูมิรายวันที่สูงถึง 45 องศาเซลเซียส

จากฐานข้อมูลดังกล่าว ภายใต้สถานการณ์จำลองกรณีปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงในระดับ RCP 8.5 เผยให้เห็นอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยของประเทศไทยในปี 2643 จะอยู่ที่ 36.25 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยอยู่ที่ 43.75 เปอร์เซนต์ โดยข้อมูลช่วงฤดูฝน เฉพาะเดือนกรกฎาคม อุณหภูมิประเทศไทย อยู่ที่ 35 - 45 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูหนาวนั้นช่วงเดือนตุลาคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 35 - 45 องศาเซลเซียส และเดือนมกราคมอยู่ที่ 33 - 40 องศาเซลเซียส ขณะที่ช่วงฤดูร้อนโดยเฉพาะเตือนเมษายน ถือเป็นช่วงที่ร้อนที่สุดตามฐานข้อมูล เนื่องจากอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 42 - 45 องศาเซลเซียส

สำหรับอนาคตที่ใกล้กว่านั้นในอีก 5 ปีข้างหน้าคาดว่า ช่วงเดือนเมษายนในประเทศไทยจะมีอุณหภูมิอยู่ที่ราว 30 - 40 องศาเซลเซียส และอีก 15 ปีข้างหน้า อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้นทั้งประเทศ โดยอยู่ในช่วงประมาณ 30 - 45 องศาเซลเซียส

นางเอลเลน สโตฟาน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ของนาซาเผยว่า "นาซาอยู่ระหว่างนำข้อมูลที่ศึกษาโลกจากอวกาศ เพื่อสร้างเครื่องมือที่ช่วยป้องกันพวกเราในอนาคต ด้วยฐานข้อมูลเกี่ยวกับโลกชิ้นใหม่นี้ ผู้คนทั่วโลกสามารถใช้มันเพื่อวางแผนในการรับมือสภาวะโลกร้อนได้"

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังส่งผลให้เกิดภัยแล้ง,ภัยน้ำท่วม, คลื่นความร้อน, และอัตราผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ลดลง

นอกจากนี้ งานวิจัยของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในเนปาล, เนเธอร์แลนด์, และฝรั่งเศส ชี้ว่าธารน้ำแข็งบนยอดเขาเอเวอร์เรสในเทือกเขาหิมาลัยอาจละลายจนเกือบหมดในช่วงปี พ.ศ. 2643 เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก



เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์