เตือน!หาด จ.ระยอง-ภูเก็ต ผู้เชี่ยวชาญชี้เสี่ยงทะเลดูด

"เตือน หาด จ.ระยอง-ภูเก็ต เสี่ยงทะเลดูด"



นักสมุทรศาสตร์เตือนหาดแม่รำพึง จ.ระยอง แชมป์หาดคร่าชีวิตนักท่องเที่ยว

ส่วนหาดกะตะ-กะรน-ป่าตอง-สุรินทร์ จ.ภูเก็ต เสี่ยงไม่แพ้กัน ด้านกรุมอุทยานฯ เตรียมติดตั้งทุ่นเตือนภัย

ความคืบหน้ากรณีที่มีนักท่องเที่ยว

เสียชีวิตจากการเล่นน้ำบริเวณหาดแม่รำพึง จ.ระยอง เสียชีวิตจากการลงเล่นน้ำเป็นประจำทุกปี และล่าสุดก็เพิ่งมีเด็กนักเรียนจาก จ.สมุทรปราการ เสียชีวิตไปอีก 1 รายนั้น

นายเฉลิมศักดิ์ วานิชสมบัติ

อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจาก นายสิทธิชัย เสรีสงแสง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเสม็ด-เขาแหลมหญ้า จ.ระยอง

ว่า ที่ผ่านมาทางอุทยานฯ

มีการติดป้ายเตือนนักท่องเที่ยว และติดธงบริเวณหาดแม่รำพึงให้ระวังอันตรายจากการเล่นน้ำในบริเวณดังกล่าวแล้ว และมีรถตระเวนเตือนนักท่องเที่ยวเป็นประจำ ซึ่งหาดดังกล่าวมีความเสี่ยง

ที่จะเกิดอันตรายต่อนักท่องเที่ยว

เพราะเป็นหาดที่มีคลื่นแรง และลักษณะของหาดลาดเทลงไปในทะเล หากเล่นน้ำโดยไม่ระมัดระวังก็อาจจะเกิดอันตรายได้



"ในวันนี้ (9 พฤษภาคม)

ผมได้เชิญหัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเสม็ดฯ เข้าพบเพื่อหารือถึงมาตรการเตือนภัยเพิ่มเติม ซึ่งเบื้องต้นอาจต้องมีการติดตั้งทุ่นลอยในทะเลเพื่อแสดงให้นักท่องเที่ยวรู้เขตที่จะเล่นน้ำได้อย่างปลอดภัย" นายเฉลิมศักดิ์ กล่าว

ด้าน ดร.วรรณเกียรติ ทับทิมแสง

ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.ภูเก็ต ระบุว่า ลักษณะทะเลของฝั่งอ่าวไทยจะมีกระแสน้ำพัดขนานกับชายฝั่ง ซึ่งแม้จะมีความชันของทะเลน้อยกว่าฝั่งอันดามัน

แต่ถ้าชายหาดที่มีแหลมยื่นออกมา

เช่น หาดแม่รำพึง ก็มีโอกาสที่จะถูกคลื่นซัดออกจากฝั่งไปเรื่อยๆ โดยไม่ทันรู้ตัว ส่วนมากมักจะตกใจและหมดแรงทำให้จมน้ำเสียชีวิต จึงขอเตือนว่าอย่าเล่นน้ำในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเดือน พฤษภาคม-ตุลาคม เพราะคลื่นจะแรงกว่าปกติ

ขณะที่ ดร.สมเกียรติ ขอเกียรติวงศ์

หัวหน้ากลุ่มงานสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ปกติชายหาดแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะทางธรณีวิทยาแตกต่างกัน ทำให้บางฤดูไม่เหมาะกับการเล่นน้ำ



โดยฝั่งอ่าวไทยในช่วงลมมรสุมตะวันตก

เฉียงใต้โอกาสที่จะได้รับอันตรายจากคลื่นลมแรงมีมาก เพราะชายฝั่งส่วนใหญ่มีลักษณะเปิด เมื่อมีคลื่นเคลื่อนตัวเข้าหาฝั่งที่มีลักษณะตรงหรือโค้ง บวกกับความแรงที่ผิวน้ำ

และลักษณะความลึกที่ไม่เท่ากัน

โอกาสที่จะเกิดการเบี่ยงเบนของคลื่นของฝั่งซ้ายและขวาที่ปะทะกันทำให้เกิดแรงดันน้ำดูดลงไปใต้น้ำ โดยคนที่อยู่ในตำแหน่งพอดีจะถูกคลื่นดูดลงไปที่ก้นอ่าว

เวลาที่น้ำดูด ถ้าเป็นคนว่ายน้ำแข็ง

จะพยายามว่ายกลับมาจุดเดิม แต่มักจะถูกน้ำพาไหลออกไปเรื่อยๆ วิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นคือต้องว่ายเลี่ยง น้ำดูดไม่ใช่มีแต่ในอ่าวไทย แต่ฝั่งอันดามัน เช่น หาดกะตะ กะรน ป่าตอง และสุรินทร์ จ.ภูเก็ต ก็มีคนเสียชีวิตจากน้ำดูดในช่วงมรสุมเช่นกัน ดร.สมเกียรติ กล่าว



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์