เตือนคนไทยระวังโรคไวรัสตับอักเสบซี

ภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ตภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ต

สมาคมโรคตับ และ เอ็มเอสอี เตือนคนไทยระวังโรคไวรัสตับอักเสบซี ภัยเงียบ

รศ.นพ.ธีระ พีรัชวิสุทธิ์ นายกสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย และ นพ.สุชัย กิจศิริพรชัย ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) ร่วมกันบรรยาย เนื่องในวันตับอักเสบโลก ตามที่องค์การอนามันโลกกำหนดให้วันที่ 28 ก.ค. ของทุกปี เป็น “วันตับอักเสบโลก” เพื่อกระตุ้น และรณรงค์ให้ทุกภาคส่วน รัฐบาล เอกชน รวมไปถึงประชาชนไทยตระหนักถึงภัยร้ายของโรคไวรัสตับอักเสบซี ให้หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี รวมไปถึงการควบคุมและรักษาโรค

รศ.นพ.ธีระ เปิดเผยว่า จากการคาดการณ์มีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี แบบเรื้อรังประมาณ 170 ล้านคนทั่วโลก และ ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมากกว่า  3 แสนคน ในขณะที่แนวโน้มของการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีมีสูงขึ้น โดยในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบซี มีเพียงวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบสายพันธุ์ เอ และ บี

“กลุ่มเสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี คือกรณี การใช้เข็มฉีดยาเข้าเส้นร่วมกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ติดยาเสพติด การสัก เจาะ ตามร่างกายด้วยเครื่องมือที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ และ การรับโลหิตจากการบริจาคเลือดที่ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองก่อน รวมทั้งการใช้เข็มฉีดยาซ้ำ และ เชื้อไวรัสตับอักเสบซี สามารถติดต่อกันได้ทางกระแสเลือด ทั้งจากการสัมผัสกับแผลของผู้ป่วยที่ไม่สะอาด และการใช้ภาชนะร่วมกัน อาทิเช่น การรับประทานอาหารโดยไม่ใช้ช้อนกลาง” รศ.นพ.ธีระ กล่าว

นพ.สุชัย กล่าวว่า คนไข้มักจะไม่ทราบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เนื่องจากไม่มีลักษณะอาการจำเพาะที่บ่งถึงโรคไวรัสตับอักเสบซี ซึ่งอาการเบื้องต้นของคนไข้ อาจมีไข้ต่ำ เมื่อล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร รวมทั้ง คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น ดังนั้นคนไข้อาจตระหนักว่าเป็นอาการของไวรัสตับอักเสบซี จนเมื่อมีอาการรุนแรง โดยบางรายอาจรุนแรงจนกลายเป็นโรคตับแข็ง และ โรคมะเร็งตับ

นพ.สุชัย กล่าวเพิ่มเติมไว้ว่า ยาที่ใช้รักษาจะเป็นยาฉีด ต้องฉีดสัปดาห์ละครั้งร่วมกับยารับประทาน โดยการรักษาเป็นระยะเวลา 24-48 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อด้วย และยารักษาไวรัสตับอักเสบให้ตามน้ำหนักของผู้ป่วยเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรักษาต่อผู้ป่วยแต่ละคน โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาอยู่ที่ 2-4 แสนบาท ทั้งขึ้นอยู่กับผู้ป่วยซึ่งหากเข้ารับการตรวจแล้วพบเชื้อไวรัสตับอักเสบอาจรักษาให้หายขาดได้ก่อนที่จะเกิดความเสี่ยงของการนำไปสู่โรคตับแข็ง และ โรคมะเร็งตับ

“อย่างไรก็ตามคนไข้บางกลุ่มไม่สามารถเข้ารับการรักษาได้ หรือต้องหยุดการรักษากลางคัน แต่คนไข้ทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี อย่างทั่วถึง เพราะระบบสวัสดิการข้าราชการ หรือระบบประกันสังคม และ โครงการ 30 บาท ช่วยให้ผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบซีสายพันธุ์ 2 และ 3 เข้าถึงการรักษาได้โดยไม่ต้องจ่ายยาเอง” นพ.สุชัย กล่าว

สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ได้รณรงค์ต่อต้านโรคไวรัสตับอักเสบซี โรคไวรัสตับอักเสบเป็นโรคร้ายที่เป็นภัยเงียบ ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับโรคนี้ ทั้งนี้โรคไวรัสตับอักเสบซี สามารถรักษาให้หายขาด และ บริษัทเอ็มเอสดี มีการวิจัยและพัฒนายารักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี มากว่า 20 ปี โดยอยู่ระหว่างการพัฒนายารักษาที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งคาดว่าอาจมียารักษาโรคไวรัสตับอีกเสบซีชนิดใหม่ ในอีก 5 ปีข้างหน้า


ขอบคุณ โพสต์ทูเดย์


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์