ล่าตัวสาวร่วมแก๊งแฮ๊กเกอร์

"เร่งล่าตัวสาวแสบร่วมแก๊งแฮ็กเกอร์"



ตร.ล่าตัวสาวร่วมแก๊ง "โอ๋แฮ็กเกอร์" พบเป็นผู้จัดหาหมายเลขโทรศัพท์ให้ลูกค้ากว่า 6,000 หมายเลข

ให้จอมแฮ็กแก้ไขจำนวนเงินสูงกว่าค่าบริการจริง

ส่วน"โอ๋ แฮ็กเกอร์"ตร.คุมตัวไปศาล ขอฝากขังผลัดแรก 12 วัน พร้อมคัดค้านประกันตัว เพราะผู้ต้องหาเป็นผู้ชำนาญเรื่องคอมพิวเตอร์เกรงจะไปทำลายข้อมูล เผยหน่วยงานความมั่นคงหลายประเทศรวมทั้งอเมริกาติดต่อมาที่ตำรวจไทยขอรายละเอียดเรื่องจอมแฮ็ก หวั่นเคยเจาะข้อมูลเรื่องความมั่นคงของประเทศ

จากกรณีตำรวจกองปราบปรามจับกุมนายทวีทรัพย์ หรือภูมิพัฒน์

หรือโอ๋ ลลิตศศิวิมล อายุ 34 ปี อยู่บ้านเลขที่ 111/132 หมู่ 6 แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม. นักเจาะระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ"แฮ็กเกอร์"ระดับโลก หลังจากรับแจ้งจากบมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส

ว่ามีผู้เจาะระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัท

เปลี่ยนข้อมูลบัตรเติมเงิน แล้วเอารหัสไปขายทางอินเตอร์เน็ตจนทำให้สูญเสียเงินหลายล้านบาท จึงสืบสวนจนพบว่าเป็นฝีมือนายทวีทรัพย์ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเข้าไปเจาะข้อมูลบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

ขโมยรหัสเติมเงินเช่นกัน และติดตามจับกุมได้

ที่ห้องพักเลขที่ 2918 ชั้น 9 อาคารวงศ์เจริญแมนชั่น หรือ แกรนด์แมนดาริน ซ.ลาดพร้าว 130 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กทม. เมื่อวันที่ 15 พ.ค. สำหรับนายทวีทรัพย์เคยเจาะระบบขององค์การบริหารการบินของสหรัฐอเมริกา(นาซ่า)



จนมีชื่อในนิตยสารเรื่องแปล "ปล้นเหยียบเมฆ"

โดยนำเรื่องราวการแฮ็กเกอร์ของนายทวีทรัพย์เข้าไปเป็นกรณีศึกษา ระบุว่าเป็นนักแฮ็กระดับโลก และอันดับหนึ่งของประเทศไทย ตามข่าวที่เสนอไปแล้ว

ความคืบหน้าในเรื่องนี้ เมื่อเวลา 10.45 น.

วันที่ 16 พ.ค. ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ร.ต.ต.มนูญ กู้เมือง พนักงานสอบสวนสน.บางซื่อ ควบคุมตัวนายทวีทรัพย์ ซึ่งรับตัวมาจากกองปราบปราม มาฝากขังต่อศาลเป็นครั้งแรก เป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 16-27 พ.ค.

เนื่องจากการสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น

ต้องรอสอบปากคำพยานอีก 10 ปาก รอผลการตรวจการวิเคราะห์ของกลางจากศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยี และรอผลตรวจสอบพิมพ์มือและประวัติต้องโทษผู้ต้องหาจากกองทะเบียนประวัติอาชญากร

คำร้องฝากขังระบุพฤติการณ์ว่า เมื่อประมาณต้นเดือนก.พ.

บริษัทได้รับแจ้งว่ามีการโฆษณาชวนเชื่อให้บริการรับเติมเงินค่าใช้บริการโทรศัพท์ในระบบวันทูคอล ของบริษัท โดยสามารถใช้บริการโทรศัพท์ได้สูงกว่าเงินที่จ่ายไป กล่าวคือ จ่ายเงิน 300 บาท

สามารถใช้งานในระบบได้ 600 บาท จ่าย 600 บาท

สามารถใช้งานในระบบได้ 1,000 บาท เป็นต้น บริษัทจึงตรวจสอบพบว่า ผู้ต้องหาได้ลักลอบเข้าสู่ระบบเครือข่ายเชื่อมโยงและแก้ไขข้อมูลการเติมเงินระบบวันทูคอล ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเชื่อมโยงจากเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือจำนวน 6 หมายเลข โดยไม่ได้รับอนุญาต



นอกจากนี้จากการสืบสวนติดตามผู้จัดหาหมายเลขโทรศัพท์เติมเงิน

ทราบว่ามี น.ส.เสาวนีย์ อินทร์สา เป็นผู้รับจัดหาหมายเลขโทรศัพท์ให้ลูกค้าจำนวนกว่า 6,000 หมายเลข เพื่อส่งให้ผู้ต้องหาแก้ไขจำนวนเงินในฐานข้อมูลการใช้โทรศัพท์ระบบเติมเงินวันทูคอล

ให้มีจำนวนเงินสูงขึ้นเกินกว่าค่าบริการจริง

ที่บริษัทได้รับไว้ ทำให้บริษัทหลงเชื่อและให้บริการโทรศัพท์ตามจำนวนเงินที่ผู้ต้องหาแก้ไข เป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย

คดีนี้ผู้ต้องหาได้กระทำผิดร่วมกับน.ส.เสาวนีย์

ลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ ซึ่งผู้ต้องหาจะได้รับเงินส่วนแบ่งจากน.ส.เสาวนีย์ที่โอนไปให้ผ่านทางบัตรโอเคแคช รวมค่าเสียหายเบื้องต้นที่เกิดขึ้นจำนวนประมาณ 8,500,000 บาท บริษัทจึงมอบหมายให้นางอำไพพร รักเผื่อน

มาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน

จนวันที่ 14 พ.ค. เจ้าหน้าที่ได้นำหมายค้นของศาลอาญาที่ 189/50 ตรวจค้นห้องพักเลขที่ 2918 ชั้น 9 วงศ์เจริญแมนชั่น หรือ แกรนด์แมนดาริน ซอยลาดพร้าว 130 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กทม.

พบของกลาง คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก

ยี่ห้อ โซนี่และคอมแพ็ค 2 เครื่อง โทรศัพท์มือถือ 3 เครื่อง สมุดบัญชีเงินฝากและบัตรเอทีเอ็ม ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ฯลฯ โดยผู้ต้องหาให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ส่วนน.ส.เสาวนีย์ จะเรียกตัวมารับทราบข้อกล่าวหาต่อไป



ท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนขอคัดค้าน

การประกันตัวเนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี เพราะผู้ต้องหาซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์จะเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ จนเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวน

หรืออาจก่ออาชญากรรมในลักษณะดังกล่าวอีก

นอกจากนี้ผู้ต้องหายังเคยกระทำผิดอันมีลักษณะเช่นเดียวกับคดีนี้มาก่อนแล้วเมื่อปี 48 คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาสั่งคดีของพนักงานอัยการ ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ฝากขังได้ จึงนำตัวกลับไปควบคุมที่สน.บางซื่อ

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับหลักฐานสำคัญคือ

ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ต้องหาที่ยึดมาได้นั้น เจ้าหน้าที่ได้ส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ของสำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติตรวจสอบ เพราะเชื่อว่าจะมีข้อมูลลับที่ผู้ต้องหาเก็บไว้เป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้วันเดียวกัน

มีเจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานของสถาบันการเงิน ประสานเข้ามาขอข้อมูลของนายทวีทรัพย์ที่พนักงานสอบสวนกองปราบปราม เพื่อต้องการทราบรายละเอียด เนื่องจากสงสัยว่าเคยถูกนายทวีทรัพย์เข้าไปล้วงข้อมูลของทางบริษัทมาแล้ว



รวมทั้งยังมีหน่วยงานทางด้านความมั่นคง

จากหลายประเทศติดต่อผ่านมายังตำรวจสันติบาล เพื่อขอทราบรายละเอียดการจับกุมด้วย เนื่องจากในต่างประเทศจะให้ความสนใจกับผู้ต้องหาคดีประเภทนี้มากที่สุด เพราะถือได้ว่าเป็นบุคคลที่มีความสามารถ จนเกรงว่าจะถูกว่าจ้างให้เข้าไปล้วงความลับเรื่องความมั่นคงของประเทศนั้นๆ โดยเฉพาะความลับของประเทศสหรัฐอเมริกา

สำหรับข้อมูลส่วนตัวของนายทวีทรัพย์

มีรายงานว่าปัจจุบันไม่ได้ทำงานประจำอยู่ที่ไหน ชอบใช้ความสามารถโดยเฉพาะในเรื่องการแฮ็กเข้าไปเจาะข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ เมื่อครั้งที่นายทวีทรัพย์ถูกจับกุมหลังก่อเหตุกับบริษัททรูฯ เมื่อปี 2548

นั้นพบว่านายทวีทรัพย์ได้เจาะข้อมูลเข้าไป

ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกกันในกลุ่มของแฮ็กเกอร์ว่า "เข้าไปเดินเล่น" อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ขององค์การนาซ่า ถือเป็นหน่วยงานที่มีเทคโนโลยีสุดยอดระดับโลก ก็ยังถูกผู้ต้องหารายนี้เข้าไปเจาะข้อมูลได้อย่างง่ายดาย



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์