นักปักษีวิทยา เฮ พบนกพงปากยาว หลังไม่เห็น139ปี

"พบนกกระพงปากยาว หลังไม่พบนานมากแล้ว"


ข่าวดีของไทยในครั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 6 มี.ค.ว่า นายกวิน ชุติมา นายกสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย พร้อมกับ ผศ.ดร.ฟิลลิป ดี ราวด์ นักวิชาการคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวเรื่องการค้นพบนกพงปากยาว ครั้งที่ 2 ในรอบ 139 ปี โดย ผศ.ดร.ฟิลลิปกล่าวว่า เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2549 ที่ผ่านมา ทีมงานศึกษาใส่ห่วงขานกอพยพและนกประจำถิ่นของตน พร้อมกับกลุ่มวิจัยสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ที่เข้าไปทำงานบริเวณแปลงทดลองบำบัดน้ำเสีย ของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อม แหลมผักเบี้ย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี ทีมศึกษาได้จับนกชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนกพงปากยาว (A.orinus) วัดความยาวจากปลายปากถึงปลายหางได้ 18 เซนติเมตร ขนาดของปีก ยาว 64 มิลลิเมตร ขนสีน้ำตาลเรื่อๆ ได้เก็บขนหาง เพื่อตรวจดีเอ็นเอเปรียบเทียบกับนกพงปากยาวที่เคยพบที่ประเทศอินเดีย เมื่อ 139 ปีก่อน ที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ของประเทศสวีเดน พบว่าเป็นนกชนิดเดียวกัน

ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมาก เพราะนักปักษีวิทยาทั่วโลก เชื่อมาตลอด 139 ปี ว่านกชนิดนี้สูญพันธุ์ไปแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าจะมาพบอีกในประเทศไทย หลังจากตรวจสอบดีเอ็นเอและข้อมูลประกอบอื่นๆอย่างละเอียดแล้ว เรามั่นใจว่านกพงปากยาวยังไม่สูญพันธุ์ จากข้อมูลใน ดีเอ็นเอประมาณการไว้ว่า น่าจะมีนกอย่างตัวนี้ในธรรมชาติอยู่ราว 40 ตัว ผศ.ดร.ฟิลลิปกล่าว

"เป็นพื้นที่ดูนกอพยพใหญ่ที่สุด"


เมื่อถามว่า ครั้งนั้นจับนกพงปากยาวได้กี่ตัว ผศ.ดร. ฟิลลิปกล่าวว่า จับได้ 1 ตัว เมื่อได้บันทึกรายละเอียดต่างๆ รวมทั้งถ่ายรูปเก็บไว้ ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ก็ปล่อยนกไป การค้นพบครั้งนี้ นักปักษีวิทยาทั่วโลกให้ความสำคัญกันมาก จะมีการแถลงข่าว ประกาศให้ทุกคนทราบใน 3 ประเทศด้วยกัน คือที่ประเทศอินเดีย อังกฤษ และประเทศไทย

ด้านนายกวินกล่าวว่า การค้นพบครั้งนี้ แสดงให้เห็นความสำคัญของพื้นที่อ่าวไทยตอนใน ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ที่มีความสำคัญและใหญ่ที่สุดในประเทศไทยบริเวณนี้ แต่ละปีจะมีนกน้ำและนกอพยพบินเข้ามาอาศัยปีละ 200 ชนิด หรือราว 5 แสนตัว เป็นพื้นที่ที่ถือเป็น เมกกะ หรือพื้นที่ดูนกอพยพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลจะต้องให้ความสำคัญกับพื้นที่ดังกล่าวให้มากๆ

เมื่อถามว่า นอกจากนกพงปากยาวที่ค้นพบแล้ว ยังติดตามนกตัวอื่นที่สูญพันธุ์ไปแล้วบ้างหรือไม่ ผศ.ดร. ฟิลลิปกล่าวว่า มีข่าวว่าชาวบ้านเจอนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ที่บึงบรเพ็ด จ.นครสวรรค์ แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน อย่างไรก็ตาม ถือว่ายังไม่หมดความหวังที่จะเจอนกชนิดนี้อีกครั้ง

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์