ดีเอสไอจับชาวโรมาเนียร่วมคนไทยปลอมบัตรเครดิต


ดีเอสไอขยายผลคดีแก๊งโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิตและบัตรเอทีเอ็ม จับชาวโรมาเนียร่วมกับคนไทยปลอมบัตรเครดิต สร้างความเสียหายต่อระบบการเงินการธนาคารกว่า 50 ล้านบาทพ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์

 รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะโฆษกดีเอสไอ เปิดเผยถึงการสอบสวนขยายผลคดีแก๊งจารกรรมข้อมูลในบัตรเครดิตและบัตรเอทีเอ็ม โดยเป็นแก๊งชาวโรมาเนีย ร่วมกับผู้ต้องหาชาวไทย สร้างความเสียหายต่อระบบการเงินการธนาคารกว่า
50 ล้านบาท ล่าสุดชุดสืบสวนสะกดรอยดีเอสไอได้จับกุมตัวนายธนกฤต หรือโซ่ จันทร์เพ็ญ ตามหมายจับของศาลจังหวัดมีนบุรี ในข้อหาร่วมกันปลอมและใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอม มีไว้ซึ่งเครื่องมือสำหรับปลอมแปลงบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้

เพื่อประโยชน์ในการชำระค่าสินค้า ค่าบริการ
หรือหนี้อื่นแทนการชำระด้วยเงินสดหรือใช้เบิกถอนเงินสด โดยจับกุมตัวได้ที่ปากซอยคูหามุข ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ยะลาสำหรับผู้ต้องหารายนี้ได้ร่วมกับผู้ต้องหาสัญชาติโรมาเนีย นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปคัดลอกข้อมูลที่ตู้กดเงินสดอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) ย่านถนนสุขุมวิท และนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนมากมาถ่ายข้อมูลลงในบัตรพลาสติกขาวเพื่อปลอมบัตรเครดิต จากนั้นได้นำบัตรปลอมที่ทำขึ้นไปใช้กดเงินสดที่ตู้กดเงินสดอัตโนมัติ โดยบัตรปลอมอีกส่วนหนึ่งได้นำไปให้เครือข่ายกลุ่มผู้กระทำความผิด

นำไปใช้ในการซื้อสินค้าตามสถานที่ต่าง ๆ โดยรู้เห็นกับพนักงานขาย และนำผลประโยชน์ที่ได้มาแบ่งกัน
โดยขบวนการโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต มีการใช้เครื่องปลอมบัตรเครดิต 3 ชนิด ได้แก่ เครื่องทำสำเนาแบบแปะติดหรือ Skimmer Hand heal ไปแปะไว้ที่เครื่องรูดการ์ดหรือบัตรกดเงินสด การนำเครื่องคัดลอกเลขรหัสบัตรเครดิตหรือบัตรเอทีเอ็มไปติดไว้ในตู้เอทีเอ็ม และการแอบติดตั้งกล้องรูเข็มด้านบนเพื่อแอบดูหมายเลขบัตรเอทีเอ็ม โดยทำสีกลมกลืนกับตู้เอทีเอ็มของธนาคารต่าง ๆ

พ.ต.อ.ณรัชต์
กล่าวอีกว่า จากการสำรวจพบว่าในปี 2552 ตู้เอทีเอ็มของธนาคารต่าง ๆ เคยถูกคนร้ายนำอุปกรณ์คัดลอกบัตรเครดิตและบัตรเอทีเอ็มไปแล้วประมาณ 30 ตู้ โดยคนร้ายจะเลือกทำเลที่มีนักท่องเที่ยวอยู่กันหนาแน่น เช่น ภูเก็ต พังงา กระบี่ เชียงใหม่ ส่วนในเขตกรุงเทพฯ จะเลือกตู้เอทีเอ็มที่ย่านรัชดาภิเษก สุขุมวิท และสยามสแควร์ ทั้งนี้

จากการติดตามพฤติกรรมของคนร้าย พบว่ามีการนำเข้าเครื่อง
skimmer มาจากประเทศรัสเซีย มาเลเซีย และจีน โดยในรอบปีที่ผ่านมามีธนาคารแห่งหนึ่งถูกแก๊งปลอมบัตรเครดิตคัดลอกรหัสแล้วนำไปกดเงินได้ถึง 14 ล้านบาท โดยเฉลี่ยในแต่ละปีธนาคารแต่ละแห่งจะสูญเสียเงินให้กับแก๊งเหล่านี้ประมาณ 10-15 ล้านบาท.  

เครดิต :

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์