เผย´สถิติ´ หญิงไทย ถูกข่มขืน

"แถลงข้อมูลข่มขืน"


ปัญหาความรุนแรงทางเพศในสังคมไทย ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุด กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แถลงข้อมูลน่าตกใจเกี่ยวกับการถูกข่มขืน กระทำชำเราและละเมิดทางเพศของผู้หญิง โดย นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยเมื่อวันที่ 30 ม.ค. ภายหลังประชุมร่วมกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิเพื่อสุขภาพและสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ของสตรี (แห่งประเทศไทย) ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ว่า กรมอนามัยร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำโครงการ สนับสนุนให้สูตินรีแพทย์ เป็นด่านแรกในการให้ความช่วย เหลือดูแลด้านร่างกายและจิตใจ พร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้ ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ ซึ่งเพิ่มมากขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน

อธิบดีกรมอนามัยกล่าวอีกว่า ความรุนแรงในครอบ ครัวเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขและสิทธิมนุษยชนซึ่งผู้ที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่ มักจะเป็นผู้หญิงและเด็ก ประมาณว่าตลอดช่วงชีวิตของผู้หญิง 1 ใน 5 คน ตกเป็น เหยื่อของการถูกข่มขืน หรือพยายามข่มขืน ผู้หญิง 1 ใน 3 คน มีประสบการณ์ถูกทำร้ายทุบตี ทำร้ายจิตใจ หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ โดยสมาชิกในครอบครัว หรือผู้ที่ คุ้นเคยและอาจรวมไปถึงการถูกล่วงเกินทางเพศโดยสายตา การกระทำ หรือคำพูด จากผู้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงาน ซึ่งผู้หญิงที่ถูกกระทำรุนแรงทางเพศมีความเสี่ยงสูงที่จะตั้งครรภ์นำไปสู่การทำแท้ง ติดเชื้อ HIV หรือโรคทาง เพศสัมพันธ์และมีผลเสียต่อสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ และความเป็นอยู่โดยทั่วไป

"โดนข่มขืนเฉลี่ยวันละ 2 คน"


นพ.ณรงค์ศักดิ์กล่าวด้วยว่า เด็กที่เกิดในครอบครัวที่พ่อแม่มีการทำร้ายกัน จะซึมซับพฤติกรรมรุนแรงที่ได้ พบเห็น จากข้อมูลพบว่า ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา เด็ก และผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ช่วงอายุ 15-44 ปีทั่วโลก ต้อง เสียชีวิต หรือทุพพลภาพ จากการถูกกระทำรุนแรงมาก เท่ากับเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง สำหรับปัญหาความรุนแรงในประเทศไทย ปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงเพิ่ม มากขึ้น ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ในการเฝ้าระวังการบาดเจ็บในโรงพยาบาล 21 แห่ง พบว่า ผู้หญิงถูกทำร้ายร่างกายและต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เฉลี่ยวันละ 1 คน ต่อหนึ่งโรงพยาบาล ในจำนวนนั้นเสีย ชีวิตปีละ 3 คน ต่อหนึ่งโรงพยาบาล และร้อยละ 71 ของ สถานที่ที่เกิดการทำร้ายร่างกาย คือ บ้านของผู้ถูกกระทำ ทั้งยังพบว่า ผู้หญิงถูกข่มขืนและล่วงละเมิดทางเพศเฉลี่ย วันละ 12 คน โดยมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ถูกข่มขืนและ ล่วงละเมิดทางเพศเฉลี่ยวันละ 2 คน นอกจากนี้จากงาน วิจัยพบว่าหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 12 ถูกกระทำรุนแรงทาง ร่างกาย และร้อยละ 23 ถูกกระทำรุนแรงทางจิตใจจากคู่ชีวิต

ส่วนใหญ่ผู้ที่ถูกกระทำรุนแรงมักจะมาใช้บริการทางการแพทย์และขอความช่วยเหลือจากแพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรสาธารณสุขเป็นอันดับแรก กรมอนามัยจึงได้ ร่วมกับราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย สนับ สนุนให้สูตินรีแพทย์ ในฐานะผู้ให้บริการที่มีหน้าที่ดูแลสุขภาพอนามัยของผู้หญิงอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์จนถึงวัยทอง เป็นด่านแรกที่จะช่วยเหลือให้การ ดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมทั้งให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในครอบครัวและความรุนแรงทางเพศ โดยเพิ่มพูนความรู้ให้กับสูตินรีแพทย์ ในด้านความรุนแรงต่อผู้หญิงในมิติเพศภาวะ (Gender Based Violence-GBV) เพื่อให้ความช่วยเหลือกับผู้หญิงที่ ตกเป็นเหยื่อเหล่านี้ นพ.ณรงค์ศักดิ์กล่าว

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์