เผยภารกิจดับไฟใต้ของกองทัพ คนเชื่อมั่น´ทหารรักษาพระองค์´

"รายงานวิจัยกองทัพ"


ศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีการเปิดเผยรายงานวิจัยของกองทัพ เรื่อง "วัฒนธรรมองค์กรของหน่วยทหารในภูมิภาคต่างๆ ที่มีผลต่อการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้" ศึกษาโดย พ.ท.หญิง พิมลพรรณ อุโฆษกิจ จากกองวิชากฎหมายและสังคมศาสตร์

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ สาระสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้ มุ่งศึกษาว่า แม้การแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะใช้นโยบายหลักจากหน่วยเหนือแบบเดียวกัน แต่ด้วยเหตุที่ว่ามีการใช้กำลังทหารจากกองทัพภาคต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคลงไปปฏิบัติงานในพื้นที่ ทำให้ผลแห่งการปฏิบัติงานแตกต่างกันไปตามลักษณะวัฒนธรรมองค์กรของหน่วยทหารที่มาจากต่างภูมิภาคนั้น

ทั้งนี้ กรอบเวลาที่ศึกษาคือช่วงตั้งแต่เดือน ต.ค. 2547 ถึงเดือน ก.ย. 2548 ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีทหารที่ถูกส่งลงไปปฏิบัติหน้าที่จาก 3 ภูมิภาค คือ 1. หน่วยทหารจากภาคกลาง (กองทัพภาคที่ 1) ศึกษาเฉพาะ 2 หน่วยคือ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ในนามหน่วย ฉก.เพชราวุธ (ฉก.36) และกรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ ในนามหน่วยกองพันทหารราบเฉพาะกิจที่ 201 (พัน ร.ฉก.201)


"ลดความรุนแรง"


รับผิดชอบ อ.ตากใบ สุไหงโก-ลก แว้ง และสุคีริน จ.นราธิวาส 2. หน่วยทหารจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กองทัพภาคที่ 2) ศึกษาเฉพาะ 2 หน่วยคือ กรมทหารราบที่ 13 ในนามหน่วย พัน ร.ฉก.132 และ กรมทหารราบที่ 23 ในนามหน่วย พัน ร.ฉก.231 รับผิดชอบ อ.จะแนะ จ.นราธิวาส กับ อ.เมือง และหนองจิก จ.ปัตตานี และ 3. หน่วยทหารจากภาคใต้ (กองทัพภาคที่ 4) ศึกษาเฉพาะ 2 หน่วยคือ กรมทหารราบที่ 15 ในนามหน่วย ฉก.12 และกรมทหารราบที่ 25 ในนามหน่วย พัน ร.ฉก.251 รับผิดชอบ อ.บันนังสตา รามัน และกรงปินัง จ.ยะลา อ.เจาะไอร้อง สุไหงปาดี จ.นราธิวาส และ อ.ยะหริ่ง ปะนาเระ มายอ จ.ปัตตานี

จากการศึกษาพบว่า ผลการปฏิบัติงานของหน่วยทหารจากภาคกลาง สามารถลดความรุนแรงในพื้นที่ลงได้ทุกอำเภอ กล่าวคือ อ.ตากใบ 6 เดือนแรก ค่าเฉลี่ยการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเท่ากับ 6.5 ครั้งต่อเดือน ส่วน 5 เดือนหลังลดลงเหลือ 3.1 ครั้งต่อเดือน อ.สุไหงโก-ลก 6 เดือนแรก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.3 ครั้งต่อเดือน ส่วน 5 เดือนหลังลดเหลือ 2 ครั้งต่อเดือน อ.สุคีริน 4 เดือนแรก ค่าเฉลี่ย 0.5 ครั้งต่อเดือน ส่วน 4 เดือนหลังลดเหลือ 0.25 ครั้งต่อเดือน และ อ.แว้ง 4 เดือนแรก ค่าเฉลี่ย 1.75 ครั้งต่อเดือน ส่วน 4 เดือนหลังไม่ลดลงแต่ก็ไม่เพิ่ม


"ลดการขยายฐาน แต่ไม่สามารถลดความไม่สงบได้"


เมื่อสรุปวัฒนธรรมองค์กรของหน่วยทหารจากภาคกลางที่มีผลต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะพบข้อแตกต่าง คือ แนวคิดการปฏิบัติงานที่เน้นการสร้างสันติภาพ ให้ความสำคัญกับการเตรียมการปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่มีประสบการณ์และความชำนาญในพื้นที่ ใช้ความเป็นทหารรักษาพระองค์ หรือทหารของในหลวง เป็นข้อดีในการปฏิบัติงานให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจ และลดความหวาดระแวง เน้นการปฏิบัติตามวินัยทหารอย่างเคร่งครัด และมีการปฏิบัติงานต่อกลุ่มประชาชนเป้าหมายอย่างกว้างขวางในเกือบทุกกลุ่ม

ส่วนผลการปฏิบัติงานของหน่วยทหารจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น แม้จะประสบความสำเร็จในการขยายฐานมวลชน แต่กลับไม่สามารถลดเหตุการณ์ความไม่สงบลงได้ โดยในช่วงหลังของการปฏิบัติงาน มีเหตุการณ์ความไม่สงบเพิ่มขึ้นกว่าในช่วงแรกในทุกพื้นที่ปฏิบัติการ โดยในเขต อ.จะแนะ 5 เดือนแรก ค่าเฉลี่ยเหตุการณ์ความไม่สงบเท่ากับ 4.6 ครั้งต่อเดือน


"สามารถสร้างความสัมพันธ์ได้ดีขึ้น"


ส่วนใน 5 เดือนหลัง เพิ่มขึ้นเป็น 6.8 ครั้งต่อเดือน อ.เมืองปัตตานี ช่วง 4 เดือนแรก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.75 ครั้งต่อเดือน ส่วนใน 4 เดือนหลัง เพิ่มขึ้นเป็น 1.75 ครั้งต่อเดือน และ อ.หนองจิก ช่วง 2 เดือนแรก ค่าเฉลี่ย 6 ครั้งต่อเดือน ส่วนใน 4 เดือนหลัง เพิ่มขึ้นเป็น 11.75 ครั้งต่อเดือน

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าผลการปฏิบัติงานของหน่วยทหารในแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันในตัวเลขสถิติของเหตุการณ์ความไม่สงบ แต่ผลการปฏิบัติงานด้านมวลชนของทหารทุกหน่วย สามารถสร้างความสัมพันธ์และได้รับความร่วมมือจากประชาชนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะหากเปรียบเทียบกับช่วงแรกๆ ที่ประชาชนจะรู้สึกกลัวและหวาดระแวงทหาร ล่าสุด ประชาชนเริ่มเปลี่ยนทัศนคติ และมีท่าทีที่เป็นมิตรต่อทหาร พร้อมทั้งให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน และแจ้งข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการปราบปรามกลุ่มก่อความไม่สงบ


แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์