เสนอเลิกจับสลาก ให้สอบเข้าม.1-ม.4

"เลิกจับสลากให้ สอบเข้า ม.1- ม.4"



จากการประชุมสัมมนาเพื่อกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียนในสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

ปีการศึกษา 2551 มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และผู้บริหารสถานศึกษายอดนิยมทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด จำนวน 362 คน เข้าร่วม เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

โดยนายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า

ได้ให้นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เกี่ยวกับการรับนักเรียนขั้นพื้นฐาน โดยยึดเรื่องความโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ และความเสมอภาคในโอกาสทางการ ศึกษา หรือยึดนโยบายไม่มีเด็กฝาก และไม่มีการรับเงินแป๊ะเจี๊ยะ โดยฝากให้ที่ประชุมดู

1. หลักเกณฑ์การรับ เช่น จะคงหลักเกณฑ์การรับนักเรียนบ้านใกล้โรงเรียนร้อยละ 50 และรับทั่วไปโดยระบบการสอบร้อยละ 50 หรือจะเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

2. วิธีการรับจะยังคงใช้วิธีการจับสลากกับสอบคัดเลือก หรือเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เช่น สอบทั้งหมดทุกคน แต่ตัดสินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มบ้านใกล้โรงเรียน กลุ่มทั่วไป และหากมีที่ว่างรับเพิ่มได้ก็เลื่อนคนที่อยู่ลำดับถัดไปขึ้นมาเพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นต้น

3. กลไกที่จะทำให้เกิดความโปร่งใสและเชื่อถือได้ ซึ่งจะอยู่ที่คณะกรรมการรับนักเรียน โดยน่าจะมีการทบทวนกลไกนี้ให้รอบคอบรัดกุมมากกว่าเดิมหรือไม่ และ

4. ขอให้นำผลการรับนักเรียนปีการศึกษา 2550 ที่เมื่อดำเนินการไปแล้วได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับของประชาชน แต่ยังมีข้อสังเกตที่เป็นจุดอ่อนบางประการที่ต้องนำมาพิจารณา เพื่อจะได้อุดช่องว่างที่มีอยู่ ทั้งนี้ ศธ.จะประกาศนโยบายการรับนักเรียนปีการศึกษา 2551

ในรัฐบาลชุดนี้ หรือประมาณเดือน ธ.ค. 2550 หรือ ม.ค. 2551 เพราะถือว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและควรทำต่อเนื่อง เพื่อเตรียมให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการต่อ อย่างไรก็ตาม ผลจากการสัมมนายังไม่ถือเป็นข้อยุติ แต่ถือเป็นข้อเสนอที่สำคัญ ซึ่งผู้บริหารระดับกระทรวงจะนำไปพิจารณาเพื่อกำหนดเป็นประกาศการรับนักเรียนต่อไป



รมว.ศึกษาธิการกล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า

ในการประชุมผู้บริหาร ศธ.มีข้อเสนอว่า แทนที่จะใช้ วิธีการเพิ่มจำนวนรับนักเรียนปีละ 2-3 รอบ ควรกำหนดโควตาให้สำหรับผู้มีอุปการคุณแก่โรงเรียนนั้น เรื่องดังกล่าวเป็นการคุยกันนอกรอบ ซึ่งก็รับทราบไว้ แต่เห็นว่าเรื่องของการกำหนดโควตาที่เป็นช่องทางให้เกิดเด็กฝากประชาชนคงไม่รับ เพราะทันทีที่มีข่าวนี้ออกไปก็มีคนโทรศัพท์ถึงตน

โดยบางคนก็ขู่ว่าจะฟ้องศาลปกครอง

พร้อมทั้งระบุว่า ศธ.จะเอาอำนาจอะไรมากำหนด เมื่อเป็นสิทธิของประชาชนทุกคน ซึ่งคิดว่าน่าจะมีวิธีอื่นที่จะไม่กระทบสิทธิและโอกาสของประชาชน และเมื่อการรับนักเรียนปีการศึกษา 2550 ทำได้ ก็ไม่น่าจะกลับไปใช้สู่ระบบเดิมอีก ซึ่งอยากให้ใช้วิธีแบบตรงไปตรงมาไม่ใช่แอบแฝงหรือซ่อนเร้นไว้

จากนั้นเมื่อเวลา 15.00 น. ได้มีการสรุปผลการประชุมกลุ่มย่อย

โดยนายสุริยน วะสมบัติ ผอ.สพท.กทม. เขต 2 ในฐานะผู้แทน ผอ.สพท.กล่าวว่า นโยบายการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2550 เป็นนโยบายที่ดีแต่ยังมีช่องว่าง โดยเห็นว่าในปีการศึกษา 2551 ควรมีช่องทางหรือเปิดโอกาสให้กับผู้ทำคุณประโยชน์และผู้มีอุปการคุณแก่สถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง

และกรณีเด็กในพื้นที่บริการไม่ควรกำหนดว่า

ต้องอาศัยอยู่ในทะเบียนที่มีพ่อแม่ หรือปู่ย่า ตายาย เป็นเจ้าบ้านเท่านั้น ควรเปิดโอกาสให้เด็กที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆจริง ถึงแม้จะอยู่กับญาติก็ตาม โดยระยะเวลา 2 ปี ควรมีอยู่ พร้อมทั้งไม่ควรประกาศผลคะแนนสอบเข้า ม. 1 และประกาศอันดับสำรอง

เพราะจะสร้างความสับสนวุ่นวายในระบบการรับนักเรียน

และเห็นด้วยกับการลดจำนวนนักเรียนต่อห้องของโรงเรียนยอดนิยมในระดับม.ต้น แล้วเพิ่มในส่วนของ ม.ปลายมากขึ้น ขณะเดียวกันควรส่งเด็ก ม.ต้นไปยังโรงเรียนคู่พัฒนาของโรงเรียนยอดนิยม และควรมีการกำหนดการเก็บค่าใช้จ่ายรายบุคคลของโรงเรียนต่างๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน



ด้าน นายมนตรี แสนวิเศษ ผอ.โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ในฐานะตัวแทนโรงเรียนในส่วนกลาง และนายประดิษฐ์ สำราญพัฒน์ ผอ.โรงเรียนขอนแก่นวิทยายนต์ ในฐานะตัวแทนกลุ่มโรงเรียนส่วนภูมิภาค ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีการสอบคัดเลือกนักเรียน ม. 1 ทุกคน โดยแบ่งเป็น 2 บัญชี คือนักเรียนในเขตพื้นที่ให้บริการ และนักเรียนทั่วไป

เพื่อให้นักเรียนได้เตรียมความพร้อม

และไม่เห็นด้วยกับการจับสลากเพราะไม่ได้เป็นประโยชน์ ในการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน และควรเปิดช่องการรับสำหรับผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องด้วย ส่วนการรับชั้น ม. 4 ควรจัดสอบทุกคนเช่นกัน ทั้งนี้ การรับนักเรียนควรเป็นแบบม้วนเดียวจบไม่ใช่รับ

หลายรอบ และอยากให้มีการประกาศแนวการรับนักเรียน

ล่วงหน้าและมีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบตลอดทั้งปี และควรส่งประกาศนโยบายรับเด็กไปถึงหน่วยงานราชการต่างๆด้วย เพื่อลดแรงกดดันของผู้บริหารสถานศึกษา

ต่อมา นายวิจิตรกล่าวหลังการรับฟังข้อเสนอว่า

เห็นด้วยกับการรับเด็กแบบม้วนเดียวจบ ซึ่งข้อเสนอ ที่ให้สอบเด็ก ม.1 ทุกคน แต่แยกบัญชีนั้นเป็นไปได้ เพราะไม่กระทบกับโอกาสของเด็กในพื้นที่ และการจับสลากก็เหมือนกับการเสี่ยงโชค ซึ่งโดยปกติจะไม่นำมาใช้กับการศึกษา ส่วนการเปิดช่องสำหรับผู้มีอุปการคุณนั้น เห็นว่ามีจุดรั่ว

แค่รูเดียวก็จะทำให้เขื่อนพังได้

เช่น นักการเมืองไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้โรงเรียน พอถึงเวลาก็มาใช้อภิสิทธิ์ในตำแหน่งหน้าที่ นอกจากนี้ ความจริงลูกหลานผู้มีอุปการคุณก็มีสิทธิ์ในรอบแรกเช่นเดียวกับคนทั่วไป แต่หากให้โอกาสซ้ำสอง จะเกิดคำถามว่ามีอะไรแทรกซ้อนหรือไม่ อย่างไรก็ตาม จะมีการจัดทำประกาศการรับนักเรียนในปีการศึกษา 2551 ให้เสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อประกาศล่วงหน้าให้ประชาชนได้เตรียมตัวต่อไป



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์