ไทยติดท็อป5ประเทศศก.พังจากภัยพิบัติ

ไทยติดท็อป5ประเทศศก.พังจากภัยพิบัติ

ไทยติดอันดับ 5 ประเทศได้รับความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภัยพิบัติในรอบ 3 ทศวรรษ องค์กรพัฒนาระหว่างประเทศหนุนบรรจุ “หลักสูตรภัยพิบัติ” ในตำราเรียน

เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)  และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนา “แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพัฒนานวัตกรรมการสร้างสรรค์การเรียนรู้ ในพื้นที่จังหวัดที่ประสบอุทกภัย” จำนวน 73 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 24 จังหวัดและกรุงเทพฯ

ทั้งภายในการเสวนาได้มีการเปิดเผยผลสรุปภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลกประจำปี 2554

จากบริษัทออน เบเนฟิล ซึ่งเป็นบริษัทประกันภัยระดับชาติ ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา (2523-2554) พบว่า ประเทศไทยติดอันดับที่ 5 ของประเทศที่ได้รับความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากที่สุด (45,000 ล้านดอลล่าร์) และติดอับดับที่ 9 ของประเทศที่สูญเสียเงินประกันภัยพิบัติ (10,789 ล้านดอลล่าร์) จากเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554

ขณะที่ “สึนามิ” ของญี่ปุ่นในปี 2547 ติดอับดับ 1 ในประเทศที่ได้รับความสูญเสียทางเศรษฐกิจ (210,000 ล้านดอลล่าร์) และ“พายุเฮอร์ริเคนแคทรีน่า” ของสหรัฐอเมริกาสร้างความสูญเสียเงินประกันภัยพิบัติสูงสุด (66,900 ล้านดอลล่าร์)

ส่วนความสูญเสียทางด้านชีวิตนั้น ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศแถบเอเชียใต้
 
ซึ่งติดอันดับที่ 2 ของโลก ที่ได้รับผลกระทบจาก “สึนามิ” ในปี 2547 รวมผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับผลกระทบ ราว 227,898 คน รองจากแผ่นดินไหว ในประเทศเฮย์ติ ในปี 2553 ที่มีผู้ประสบภัยราว 230,000 คน

นายวรากรณ์  สามโกเศศ อธิการบดี ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า บทเรียนสำคัญจากน้ำท่วมใหญ่ของประเทศไทย
 
คือทำอย่างไรจะต่อยอดจากสิ่งที่เป็นลบ เพื่อเสริมให้เป็นประโยชน์ได้ เพราะปัจจุบันเทคโลโยนีทำให้เราเก่งขึ้นในการเรียนรู้ที่จะปรับตัว ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ได้เปลี่ยนตัวเองเป็นศูนย์หลบภัยให้ชุมชนได้อยู่รอด สะท้อนให้เห็นว่า ทุกคนนั้นได้รับผลกระทบร่วมกัน แต่ใครจะเปลี่ยนผู้เรียนรู้ที่จะเปลี่ยน เช่นกันภัยพิบัติที่เกิดนั้นไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่จะทำอย่างไรใช้ปัญญา วิทยาศาสตร์ และประสบการณ์ทำให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป สสค.จึงเกิดความคิดที่จะขยายผลว่า คนเราเรียนรู้ต่อยอดจากบทเรียนในการหาประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้นให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างไร

ด้าน นายฮิโรคะซึ นากาตะ ประธานกรรมการองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร พลัส อาร์ตส์
 
ซึ่งได้รับความร่วมมือจากเจแปน ฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ บรรยายในหัวข้อ “การสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสื่อการเรียนการสอนเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ” ระบุว่า การผลักดันนวัตกรรมการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นสู่การบรรจุเป็นหลักสูตรในการเรียนการสอนจริงมีปัจจัยสำคัญ 3 ข้อคือ 1.ต้องมีการหาความรู้อย่างลึกและละเอียด ซึ่งพบว่า เราควรได้เรียนรู้จากผู้ประสบภัยโดยตรง 2.จัดให้มีการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ไม่ว่าเด็กจะเรียนรู้บ่อยแค่ไหน พวกเขาก็จะยินดี 3.ต้องมีดีไซต์ที่น่าสนใจ อาจเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับผู้ใหญ่ แต่เป็นเรื่องยิ่งใหญ่สำหรับเด็ก

"เนื้อหาสำคัญที่ควรมีการจัดการเรียนรู้เช่น ระหว่างภัยพิบัติผู้ประสบภัยใช้เทคนิคอะไรในการรับมือภัยพิบัติบ้าง แล้วนำมาประมวลเป็นเกมส์ หรือสื่อในการเรียนการสอนต่างๆ ซึ่งในญี่ปุ่น เทศบาลเมืองโกเบเป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้างการเรียนรู้ ดังนั้นถ้าครูและเด็กไทยได้เรียนรู้แนวคิด และนำไปปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในไทยจะเป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะการบรรจุการเรียนรู้ภัยพิบัติเข้าไปในหลักสูตร และปรับให้เหมาะสมกับบริบทของปัญหาในแต่ละท้องถิ่นต่อไป"นายฮิโรคะซึกล่าว  


ไทยติดท็อป5ประเทศศก.พังจากภัยพิบัติ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์