จัสมินไม่จ่ายเงิน 900MHz ใครกันแน่เสียหายแท้จริง?

จัสมินไม่จ่ายเงิน 900MHz ใครกันแน่เสียหายแท้จริง?

การที่แจสโมบายบอร์ดแบนด์ของกลุ่มจัสมิน ไม่มาชำระเงินประมูล 900 เมกะเฮิรตซ์ 

มีคำชี้แจงแล้วว่า มาจากพันธมิตรจากจีน ไม่สามารถขออนุญาตหน่วยงานทางการได้ทันตามกำหนด และยกเลิกการแถลงข่าวชี้แจงในวันนี้ (22 มี.ค.) ขณะที่ก่อนถึงกำหนดจ่ายเงิน กลุ่มจัสมินมีความเคลื่อนไหวอย่างไร และใครคือผู้เสียหายที่แท้จริงจากเหตุการณ์นี้ 

นี่คือการให้สัมภาษณ์ของพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หลัง แจส โมบาย บรอดแบนด์ ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์กว่า 75,654 ล้านบาท เมื่อปลายปี 2558 ท่ามกลางความคาดหวังว่า แจสฯ จะเข้ามาเป็นค่ายมือถือรายที่ 4 ของไทย

ตลอด 3 เดือนก่อนถึงกำหนด จัสมินมีข่าวพันธมิตรต่างประเทศ และทางเลือกการเงิน รวมทั้งราคาหุ้นที่ปรับลดลงจากภาระการเงินมหาศาล 

แต่การประกาศจ่ายเงินปันผล 30 สตางค์ต่อหุ้น  ประกาศซื้อหุ้นคืน 6,000 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 5 บาท สูงกว่าราคาหุ้นในตลาด ทั้งที่ต้องใช้เงินจ่ายค่าประมูล ลงทุนโครงข่าย และการตลาด นับหมื่นล้านบาท  

ท้ายที่สุด เมื่อถึงกำหนด 90 วัน เมื่อแจสโมบายฯไม่มาชำระเงินประมูล ทำให้กสทช.เตรียมประชุมวันที่ 23 มีนาคมนี้ เพื่อหาแนวทางจัดประมูลคลื่นใหม่ รวมทั้งการดำเนินการกับแจสโมบายฯ นอกจากยึดหลักประกัน 644 ล้านบาท 

ส่วนการแถลงข่าวของพิชญ์ โพธารามิก เพื่อชี้แจงในช่วงบ่ายวันนี้ (22 มี.ค.) กลับถูกแจ้งยกเลิกไม่ถึง 2 ชั่วโมง 

สาเหตุจากพันธมิตรธุรกิจของจีน ติดเงื่อนไขเวลา ขออนุมัติจากหน่วยกำกับดูแล ซึ่งไม่ทันระยะเวลา 90 วัน ที่จะแล้วเสร็จกลางเดือนเมษายน และที่ปรึกษากฎหมายของจัสมิน เห็นว่ามีผลกระทบเฉพาะถูกริบเงินประกันการประมูล 644 ล้านบาทเท่านั้น และไม่ได้ผิดเงื่อนไขการประมูล รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่องบการเงินของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ และยังตามมาด้วยการจ่ายเงินปันผลและการรับซื้อหุ้น 6 พันล้านบาท ที่เคยประกาศก่อนหน้านี้ 

เหตุใดพิชญ์ โพธารามิก ตัดสินใจเลือกทิ้งการประมูลครั้งนี้ ที่มีความเสี่ยงที่กสทช.จะดำเนินการ เช่น ค่าปรับ ค่าจัดประมูลใหม่ หรือ ส่วนต่างราคาประมูล รวมทั้งใบอนุญาตธุรกิจ หรือ ถูกขึ้น Blck List จากหน่วยงานรัฐ แต่การที่พิชญ์และจัสมิน เลือกทางเดินนี้ อาจคุ้มกว่าภาระการเงินในอนาคตหรือไม่ รวมทั้งผู้ถือหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเกมหุ้นที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังจากนี้ 

แต่ที่เสียหายแล้ว เห็นจะเป็นรัฐบาลที่ขาดเงินประมูลก้อนนี้มาเป็นรายได้ประเทศ รวมทั้งกสทช.ที่ต้องดำเนินการกับแจสโมบายฯ และการเปิดประมูลใหม่ที่ไม่แน่ชัดว่า จะมีผู้เข้าประมูลและได้เงินเท่าเดิมหรือไม่ รวมทั้งประชาชน ที่บริการ 4G จากค่ายมือถือรายที่ 4 ยังคงไม่เกิดขึ้นตลอดธุรกิจโทรคมนาคมของไทยเกือบ 30 ปี 

ขอบคุณข้อมูลจาก VoiceTV

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์