กสทช.ยันประมูล“3จี” โปร่งใส-คาดพย.ได้ข้อสรุป“4จี”

ภาพจากแนวหน้าภาพจากแนวหน้า


ที่รัฐสภา เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.)  เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภา  ซึ่งมีการพิจารณารายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2552 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2553 ของกทช. และ กทช. ปฏิบัติหน้าที่ กสทช. ถึงประเด็นปัญหาการประมูล 3จี โดยยืนยันว่า กสทช. ได้ดำเนินการประมูล3จีอย่างโปร่งใส และมีผู้รู้เห็นเป็นจำนวนมาก มีทั้งนักวิชาการ รวมถึงภาคประชาชนที่เป็นผู้ให้ความเห็นสาธารณะ  

พ.อ.เศรษฐพงศ์ชี้แจงถึงราคาประมูลตั้งต้น ซึ่งมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับราคา4,500 ล้านบาท  โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยระบุว่ามูลค่าต้นต้น 4,500 ล้านบาท มีราคาแพงมาก ทั้งนี้ ได้ผลสรุปสุดท้ายคือ ราคาประมูลสุดท้ายของการประมูลคลื่นความถี่ 2.1GHzของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ แสดงให้เห็นว่าราคาประมูลของประเทศไทยอยู่ที่ 0.47เหรียญสหรัฐ ต่อ GHz ต่อประชากร สูงกว่าราคาประมูลที่มีรายได้ต่อหัวประชากรสูงกว่า ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเยอรมัน ประเทศเกาหลีใต้ และเป็นราคาที่สูงกว่า 3 เท่าของราคาประมูลที่กำลังพัฒนา ที่อยู่ในระดับเดียวกัน เช่น ประเทศอินโดนีเซีย และเม็กซิโก ทำให้เห็นว่ามูลค่าคลื่นความถี่ของประเทศไทยแพงที่สุดในเอเชีย

“พวกผมต้องการสร้างความสมดุลให้เกิด แต่หากเพิ่มราคาจากราคาตั้งต้นที่ 4,500 ล้านบาทที่มีการเสนอในกรอบของข้อสรุปขอข้อศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตัวเลข 6,440 ล้านบาท เอกชนที่เข้าประมูลอาจจะเหลือเพียง 2 ราย หรืออาจเหลือเพียง 1 ราย หรืออาจจะไม่มีการประมูลครั้งนี้ มีนักวิชาการหลายคนเสนอให้ลดตัวเลขประมูลตั้งต้นเหลือ 3,000 ล้านบาท เพื่อต้องการให้ผู้เข้าร่วมประมูลมากกว่า 3ร าย มีรายที่ 4 พยายามเข้ามาแต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคาร จึงไม่ผ่านเข้ามาประมูล ประเด็นเหล่านี้ กสทช. ต้องใช้ความกล้าหาญ ในการตัดสินใจ” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว

พ.อ.เศรษฐพงค์ ชี้แจงต่อว่า ในการเตรียมความพร้อม กรณีที่จะหมดสัญญาสัมปทาน ได้ตั้งอนุกรรมการ จัดการเกี่ยวข้องกับการหมดสัญญาสัมปทานในคลื่น 1,800 GHz ที่จะนำมาใช้ในเทคโนโลยี 4จีในเดือนกันยายน 2556 ทั้งนี้ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือนพฤศจิกายน นอกจากนั้น แล้วคลื่นขนาด 900GHz จะมีการคืน และดำเนินการประมูลต่อไป


“การเตรียมการ ได้มีการร่างแผนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ใน 2 กรณีคือ 1.กรณีแบบบังคับ ที่ต้องใช้ทรัพยากรร่วมกัน  และ2.กรณีที่สามารถที่จะขอใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการไฟเบอร์โคและทาวเวอร์โค ซึ่งสามารถเช่าเสาและสายไฟเบอร์ได้ ด้วยวิธีดังกล่าจะทำให้บริษัทรัฐวิสาหกิจของประเทศไทย ปรับสภาพเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมในด้านบริการโครงข่ายได้ กสทช. ยืนอยู่ตรงกลางระหว่างผู้ประกอบกิจการ และผู้บริโภคด้วยความยากลำบาก เพราะต้องสร้างสมดุลระหว่างกัน ทั้งนี้ มีสิ่งที่ต้องสร้างความชัดเจน คือ ผู้บริโภคและประเทศจะต้องได้รับประโยชน์” พ.อ.เศรษฐพงค์ ชี้แจง


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์แนวหน้า


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์