บอร์ดค่าจ้างเคาะค่าแรงขั้นต่ำทั่วปท.ใหม่ตุลานี้ โละขั้นต่ำ300บาท

บอร์ดค่าจ้างเคาะค่าแรงขั้นต่ำทั่วปท.ใหม่ตุลานี้ โละขั้นต่ำ300บาท

"บอร์ดค่าจ้าง"เคาะค่าแรงขั้นต่ำทั่วปท.ใหม่ตุลานี้ เล็ง5รูปแบบ ลอยตัว โละขั้นต่ำ300บาท

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ นายนคร ศิลปอาชา ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงานสัมมนากรอบแนวทางและหลักเกณฑ์การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2559 โดยมีคณะกรรมการค่าจ้าง(บอร์ดค่าจ้าง) อนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ลูกจ้างและนักวิชาการเข้าร่วมสัมมนาพร้อมกล่าวว่า บอร์ดค่าจ้างชุดปัจจุบันมีมติให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามพื้นที่จังหวัด ให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่แท้จริง โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม

"ซึ่งเบื้องต้นบอร์ดค่าจ้างศึกษาแนวทางการปรับขึ้นค่าจ้างไว้ 5 รูปแบบ คือ

1.ให้อนุกรรมการค้าจ้างจังหวัดเสนอมาตามปกติ 

2.ค่าจ้างลอยตัว

3.ค่าจ้างตามการพัฒนาเศรษฐกิจ 18 กลุ่มจังหวัด

4.ค่าจ้างตามกลุ่มอุตสาหกรรม

5.ค่าจ้างในลักษณะผสมผสานหลายรูปแบบ รวมทั้งจะนำข้อเสนอในเรื่องโครงสร้างค่าจ้างมาพิจารณาประกอบด้วย

ทั้งนี้ภายในเดือนมิถุนายนนี้อนุกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องส่งอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในแต่ละจังหวัดมาให้บอร์ดค่าจ้างพิจารณาโดยคาดว่าจะสามารถสรุปอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั่วประเทศได้ในเดือนตุลาคมนี้"ปลัดกระทรวงแรงงานกล่าว


นายนครกล่าวอีกว่า การปรับขึ้นค่าจ้างไม่ควรนำไปผูกกับนโยบายทางการเมือง เนื่องจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำนั้นส่งผลกระทบเป็นวงกว้างทั้งต่อสถานประกอบการ การจ้างงาน หรือสภาพเศรษฐกิจโดยภาพรวม และตัวของแรงงานเองก็ต้องมีการพัฒนาฝีมือ ทักษะและศักยภาพของตัวเองเพื่อให้นายจ้างยินยอมจ่ายค่าจ้างที่มากขึ้น


ด้าน นายสมบูรณ์ หวังวณิชพันธุ์ ผู้บริหารทีมนโยบายเศรษฐกิจด้านอุปทาน ธนาคารแห่งประเทศไทย บรรยายพิเศษถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2558


 และแนวโน้มตลาดแรงงาน ว่า ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2557 เศรษฐกิจไทยบางส่วนมีช่วงที่ติดลบ แม้ต้นปีที่ผ่านมาจะมีการขยายตัวแต่ก็ไม่สูงมากนัก ซึ่งส่วนที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจคือการใช้จ่ายของภาครัฐ การลงทุนของรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ และการท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาจำนวนมากขึ้น ทำให้มองว่าในปีนี้เศรษฐกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัวแต่เป็นไปอย่างช้าๆ


 “ค่าจ้างขั้นต่ำมีผลกระทบต่อการกำหนดค่าจ้างทั่วไปของแรงงาน ซึ่งการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ เป็นการปรับมากกว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.4 ขณะที่ค่าจ้างปรับขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 20.6 ช่วยให้แรงงานมีกำลังในการซื้อมากขึ้น นอกจากนี้ตลาดแรงงานมีแนวโน้มคงที่ แรงงานต้องปรับตัวโดยการพัฒนาทักษะฝีมือให้สอดคล้องกับค่าจ้างที่ปรับขึ้น” นายสมบูรณ์ กล่าว


รายงานข่าวระบุว่า สำหรับปัจจุบัน ค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ  300 บาท มาจากมติคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็น นายกรัฐมนตรี


ที่เห็นชอบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง  เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 7)  เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2554  ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป  ทั้ง 77 จังหวัด โดยค่าจ้างขั้นต่ำกำหนดไว้วันละ 300 บาท ซึ่งหากใช้แนวทางใหม่ เท่ากับเป็นการยกเลิกค่าจ้างขั้นต่ำที่กำหนดไว้วันละ300บาท ทั่วประเทศ

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์