เปิดทำเลสุขุมวิท-สยามแชมป์ที่ดินแพงพุ่ง ลำลูกกา-หนองจอกราคาร่วง!

เปิดทำเลสุขุมวิท-สยามแชมป์ที่ดินแพงพุ่ง ลำลูกกา-หนองจอกราคาร่วง!

เผย ผลสำรวจราคาที่ดินกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในรอบ 5 ปี ย่านสยาม-สุขุมวิท-อโศก-พหลฯ ราคาแพงเกิน 100% โดยเฉพาะแถบแนวรถไฟฟ้า ส่วนย่านหนองจอก-ลำลูกกาคลอง 13-ลาดหลุมแก้ว สุดเซ็งราคาขายร่วง

นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส

 กล่าวถึงผลสำรวจราคาที่ดินในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลในรอบ 5 ปีล่าสุดคือ พ.ศ.2551-2556 ว่าบริเวณไหนที่ราคาขึ้นมากที่สุด และบริเวณไหนที่ราคาตกต่ำที่สุด จากจำนวนทั้งหมดที่สำรวจประมาณ 400 แปลง

นาย โสภณกล่าวว่า ที่ดินทำเลที่มีราคาพุ่งสูงสุดคือถนนสุขุมวิทช่วงต้น บริเวณแถวอาคารไทม์สแควร์ ในปี 2551

 ราคาที่ดินติดถนนสุขุมวิทซื้อขายเฉลี่ย ตารางวาละ 600,000 บาท แต่มาถึงปี 2556 ราคาเพิ่มขึ้นเป็นตารางวาละ 1,500,000 บาท หรือเพิ่มขึ้นถึง 150% รองลงมาเป็นย่านถนนวิทยุ แถวบ้านพักทูตอเมริกัน จากราคาตารางวาละ 650,000 บาท เพิ่มเป็น 1,400,000 บาท เพิ่มขึ้นถึง 115%

"ถนนสุขุมวิทบริเวณสถานีขนส่งเอกมัย และสุขุมวิท ซอย 21 จากตารางวาละ 400,000 บาท กลายเป็น 850,000 บาท หรือเพิ่มขึ้น 112.5% สยามสแควร์ เป็นจุดที่ที่ดินราคาแพงสุด เมื่อปี 2551 ตารางวาละ 800,000 บาท ปัจจุบันอยู่ที่ตารางวาละ 1,600,000 บาท เพิ่มขึ้น 100% ถนนพหลโยธินช่วงต้น ใกล้ๆ ซอยอารีย์ จากตารางวาละ 350,000 บาท เป็น ตารางวาละ 700,000 บาท" นายโสภณกล่าว

นายโสภณกล่าวอีกว่า ถนนอโศก-ดินแดง ช่วงระหว่างแยกโบสถ์แม่พระ กับ ช่วงแยก อสมท. เพิ่มจากตารางวาละ 180,000 บาท เป็น 350,000 บาท

 ถนนสีลมจากตารางวาละ 700,000 บาท เพิ่มเป็น 1,350,000 บาท ส่วนถนนสุขุมวิท แถวบางจาก ตรงข้ามซอยสุขุมวิท 62 จากตารางวาละ 200,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 380,000 บาท โดยจุดเด่นของทำเลที่ราคาขึ้นคืออยู่ใจกลางเมือง หรือมีรถไฟฟ้าผ่าน

"ส่วน พื้นที่ที่ดินราคาตกลงหรือขยับขึ้นน้อยมากเพียง 1-2% เช่น ถนนเลียบคลอง 13 ลำลูกกา ราว ก.ม.5 เมื่อ 5 ปีก่อนซื้อขายราคา ตารางวาละ 3,000 บาท แต่ผ่านไป 5 ปีซื้อขายกันที่ราคา 2,500 บาทเท่านั้น ย่านหนองจอกราคาลดลงจาก 11,500 บาท เหลือเพียง 11,000" นายโสภณกล่าว และว่าจุดอื่นๆ เช่น บางนา-ตราด ก.ม.36.3 พื้นที่ปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว ก.ม.16 ก็ราคาลดลง หรือนิ่งๆ ทั้งๆ ที่ผ่านมาถึง 5 ปี แล้วก็ตาม

นายโสภณกล่าว อีกว่า นอกจากนั้น ยังมีพื้นที่ที่ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นเพียง 1.1-2.2% ในระยะเวลา 5 ปี

 เพราะอยู่ในบริเวณที่ยังไม่มีศักยภาพการพัฒนาใหม่ๆ ได้แก่ บริเวณถนนกาญจนาภิเษก ก.ม.14 ที่ตัดกับถนนบางขันธ์-หนองเสือ และบริเวณถนนกาญจนาภิเษก ก.ม.27 ที่ตัดกับถนนลำลูกกา เป็นต้น รวมทั้งพื้นที่ในเขตนวนคร และถนนพหลโยธิน ก.ม.33 เป็นต้น

ส่วน สาเหตุราคาที่ดินไม่ขยับหรือปรับลดลงนั้น นายโสภณกล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นบริเวณเขตนอกเมืองที่ไม่มีสาธารณูปโภค การเดินทางก็ลำบาก จึงไม่เป็นที่นิยมซื้อ

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์